เมนู

สอบถามเนื้อความที่พระมหากัจจานะชี้แจง


[249] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหา-
กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า
ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด
ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว
เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็น
ที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย
เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ
ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยงและการ
กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุ
นั้น ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าหลีกไบ่ไม่นาน พวกข้าพระองค์
ได้บังเกิดความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ. . . ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้ว เสด็จลุกจาก
อาสนะเข้าที่ประทับเสียย่อ ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดาร
ได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระ-
มหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้
พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะยังที่อยู่

แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะดู. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่
แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน
พระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านั้น ด้วย
พยัญชนะเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะ
เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อ
ความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้นเหมือนกับที่พระมหากัจจานะ
พยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลายจงจำทรงข้อนั้น
ไว้เถิด.
[250] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึง
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูก
ความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ขนมหวาน แล้วกินในเวลาใด ก็พึง
ได้รับรสอันอร่อยหวานชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ
นักคิด ชาติบัณฑิตพึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาใน
เวลาใด ก็พึงได้ความพอใจและได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจง
ทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจ
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ 8

อรรถกถามธุปิณฑิกสูตร


มธุปิณฑิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวนํ ได้แก่ ป่าที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มี
ใครปลูก ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ ไม่เหมือนป่าเกี่ยวกับป่าที่
ปลูกแล้ว และยังไม่ได้ปลูกในเมืองเวสาลี. บทว่า ทิวาวิหาราย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน. บทว่า เวลุวลฏฺฐิกาย
ได้แก่ ต้นมะตูมหนุ่ม. บทว่า ทณฺฑปาณิ คือ ทรงถือไม้เท้าเพราะความ
เป็นผู้ทุรพลด้วยชราก็หาไม่. เพราะทัณฑปาณิศากยะนี้ ยังเป็นหนุ่มเทียว
ดำรงอยู่ในปฐมวัย แต่ทรงถือไม้เท้าทองคำ เพราะความที่มีจิตในไม้เท้าเทียวไป
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัณฑปาณิ. บทว่า ชงฺฆาวิหารํ ได้แก่ เดินเล่น
เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยของแข้ง. บทว่า อนุจงฺกมมาโน คือกำลังเสด็จ
เที่ยวข้างโน้น และข้างนี้ เพื่อประโยชน์แก่การทรงชมสวน ชมป่า และชม
ภูเขา เป็นต้น. ได้ยินว่า ทัณฑปาณิศากยะนั้น เมื่อจะเสด็จออกไป
ก็เสด็จออกในบางเวลาเท่านั้น เที่ยวไป. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภา
ความว่า ทรงยันไม้เท้า คือวางไม้เท้าข้างหน้า เหมือนเด็กเลี้ยงโค วางพระ
หัตถ์ทั้งสองไว้บนปลายไม้เท้า ทรงแนบหลังพระฝ่าพระหัตถ์ ไว้กับพระหณุ
แล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. บทว่า กึวาที ได้แก่ ทรงมีความเห็น
อย่างไร. บทว่า กิมกฺขายิ คือ ตรัสบอกอย่างไร. พระราชานี้ไม่ทรงไหว้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำสักว่า ปฏิสันถานเท่านั้น แล้วทูลถามปัญหา
แต่ก็ทูลถามโดยความจำใจ เพราะความที่ไม่ประสงค์จะรู้. นัยว่าพระราชานี้
ทรงเป็นพวกของพระเทวทัต เพราะเหตุไร. เพราะพระเทวทัตแตกในพระ-